Monday, June 5, 2023
Homeเทคนิคการถ่ายภาพมุมกล้อง เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

มุมกล้อง เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

ปัญหาการจัดองค์ประกอบภาพเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คน โดยเฉพาะเมื่อถ่ายออกมาแล้วภาพไม่มีมิติอย่างที่ต้องการ ดูด้อยกว่าภาพคนอื่น ๆ อย่างไรก็ตามหลังจากนี้คุณจะไม่ต้องเป็นกังวลอีกต่อไป เพราะถ้าอยากได้ภาพมีมิติ มีความลึก มีจุดเด่นใกล้และไกล การจัดมุมกล้องจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งก็มีมาแนะนำพร้อมสร้างภาพมีมิติไปด้วยกัน

 

มุมกล้อง” ตัวช่วยสร้างภาพมีมิติอย่างคาดไม่ถึง

1. มุมกล้อง สร้างกรอบให้กับรูปภาพ

เริ่มต้นกันที่การสร้างกรอบให้กับรูปภาพ โดยสามารถมองตามมุมกล้องที่ทำให้ภาพมีฉากหน้าเป็นกรอบ อย่างประตู ตาไม้โค้ง ๆ หรือกรอบหน้าต่าง เป็นการบังคับสายตาให้ถูกมองแบบทะลุออกไปจากกรอบ ทำให้ภาพดูมีความลึกมากขึ้น จับโฟกัสไปตรงจุดเด่นกลางภาพที่ต้องการ โดยฉากหน้าควรเบลอ ๆ หรือมืดกว่าสิ่งที่อยู่ภายในกรอบ สร้างความโดดเด่น แต่ระวังเรื่องการวัดแสงให้ดี ควรวัดบริเวณจุดหลักที่จะถ่ายก่อนเสมอ

 

2. มุมกล้อง ใช้เส้นนำสายตา

ต่อมาคือเรื่องของเส้นนำสายตา จะเป็นเส้นโค้งหรือเส้นตรงได้หมด โดยจะเป็นสิ่งนำตั้งแต่จุดใกล้สายตาผู้ถ่ายไปยังจุดหมายปลายทาง เช่น รางรถไฟ ราวสะพาน เสาไฟฟ้าที่เรียงต่อ ๆ กัน สิ่งที่อยู่ใกล้กล้องจะมีขนาดกว้างใหญ่ ส่วนที่อยู่ไกลก็จะเล็กลงไปเรื่อย ๆ ทำให้ภาพดูมีความลึกมากขึ้น ไม่แนะนำเส้นตัดขนานเพราะจะทำให้มิติของภาพหยุดลงแค่นั้น ไม่มีลึกหรือไกลไปเรื่อย ๆ 

 

3. มุมกล้อง เน้นการเปรียบเทียบขนาด

ใช้มุมกล้องเพื่อเปรียบเทียบขนาดที่มีอยู่ตรงหน้า เช่น ขนาดตัวคนที่เห็นอยู่แล้วว่ามีขนาดเล็กหรือใหญ่ รวมกับพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งอาคาร ตึก ฯลฯ หรือจะเน้นไปที่ขนาดเท่า ๆ กันแต่รวมกันอยู่แล้วรู้สึกว่าเทียบความใหญ่-เล็กได้จากการวางกล้องใกล้ำไกล เช่น เสาอยู่ใกล้กล้องก็จะใหญ่กว่าที่อยู่ไกล

 

4. มุมกล้อง ถ่ายมุมต่ำ

บางคนอาจเลือกมองในมุมมองภาพปกติ แต่การเลือกมุมมองที่แตกต่างก็ช่วยทำให้ภาพเกิดมิติได้ อย่างการทำมุมให้ต่ำลง เอาแบบที่ติดพื้นไปเลย เพราะจะทำให้ภาพมีความโดดเด่นมากขึ้น ยิ่งปัจจุบันกล้องสามารถปรับจอมอนิเตอร์ได้เมื่อมองจากด้านบนเห็นภาพที่จะถ่ายจึงสะดวกมากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงเทคนิคมุมกล้องส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะยังมีอีกหลายมุมให้ลองทำตามเพื่อภาพที่มีมิติ มีความแปลกใหม่มากขึ้น เช่น การใช้บรรยากาศของภาพในการสร้างมิติ, การใช้เลนส์มุมกว้างแต่เข้าไปถ่ายวัตถุใกล้ ๆ, การถ่ายภาพให้มีฉากหน้า – หลัง, การเลือกทิศทางของแสงที่เข้าด้านข้าง ฯลฯ 

RELATED ARTICLES

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Most Popular

Recent Comments