เราคงจะเคยเรียนวิชาศิลปะมาตั้งแต่ประถมแล้วค่ะในเรื่องของภาพ Landscape ที่จะเน้นไปที่เรื่องของทิวทัศน์ธรรมชาติแต่ต้องประกอบกับการใช้ระยะที่ใกล้ไกลอยู่ในตัวเพื่อให้ภาพ Landscape นั้นถ่ายออกมาได้ดูมีมิติมากยิ่งขึ้น โดยที่ภาพ Landscape จะเป็นการถ่ายที่จะต้องใช้เส้นนำสายตาร่วมเข้าไปในภาพ ซึ่งก็จะยิ่งทำให้ภาพนั้นมีความสมจริงและเกิดมิติขึ้นมาได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง และวันนี้บทความของเราก็มีความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับภาพ Landscape มาฝากทุกท่านในที่นี่ให้ได้รู้จักกันค่ะ
อะไรคือ ภาพ Landscape ทำไมถึงเป็นที่นิยมในการถ่ายได้มากขนาดนี้
ภาพ Landscape คือ การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์โดยการอาศัยระยะใกล้ไกลของภาพเพื่อให้ภาพนั้นเกิดมิติและมีความสมจริงในเรื่องของความใกล้ไกลได้มากที่สุด โดยก่อนที่เราจะมาทำการถ่ายภาพ Landscape ได้นั้น เราก็จะต้องมาทำความรู้จักกับภาพ Landscape เสียก่อน ซึ่งหากใครที่ยังไม่รู้จักภาพ Landscape นั้น ก็ขอยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุดที่เชื่อว่าหบาย ๆ คน จะต้องเคยเรียนมาเช่นเดียวกันนั่นก็คือ ภาพถนนที่ทอดยาวออกไปโดยที่บริเวณรอบข้างนั้นก็มีต้นไม้ที่ถูกปลูกประดับเรียงรายเอาไว้แบเรียงต้นต่อต้น และบริเวณของต้นไม้ที่อยู่ใกล้กล้องมากที่สุดก็จะมีความใหญ่มากที่สุกและจะค่อย ๆ เล็กลงเมื่อไปอยู่ในระยะที่ไกลขึ้น
นี่แหละค่ะที่เรียกว่าภาพ Landscape ซึ่งเราก็เชื่อว่ามันเป็นรูปแบบของภาพที่แน่นอนว่าไม่มีใครที่ไม่รู้จักเพียงแค่ยังไม่รู้ว่ามันเรียกว่าภาพ Landscape ก็เท่านั้นเอง อีกทั้งในเรื่องของภาพ Landscape นั้นก็ถูกนำไปใช้ในการถ่ายภาพธรรมชาติต่างๆ ที่สวยงามอย่างมากมายเลยด้วย ซึ่งก็จะอาศัยการใช้เส้นนำสายตาเพื่อโฟกัสสิ่งใสสิ่งหนึ่งในภาพเอาไว้ แต่สิ่งที่เราสามารถเห็นได้ชัดเจนที่สุดจากภาพ Landscape นั้นก็คือเรื่องของระยะใกล้กันนั่นเอง แถมการถ่ายภาพ Landscape ก็เป็นการถ่ายภาพที่เรานั้นสามารถฝึกกันได้เช่นเดียวกัน
ความสำคัญของภาพ Landscape ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน
เมื่อเรารู้จักคำว่าเส้นนำสายตาเราก็จะรู้ว่า ภาพ Landscape คืออะไร เพราะทั้งสองสิ่งนี้จะต้องไปคู่กันค่ะ โดยที่ภาพ Landscape นั้นจะเน้นไปที่เรื่องของทิวทัศน์ธรรมชาติก็จริง แต่ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาจุดโฟกัสหลักหรือเรื่องของเส้นนำสายตาให้เจอเพื่อให้ภาพ Landscape นั้นออกมามีความสมบูรณ์แบบได้มากที่สุด และยังช่วยให้ภาพมีมิติสามารถมองเห็นระยะทางใกล้ไกลของภาพได้เป็นอย่างดีอีกด้วยตามที่เราได้เห็นกันนั่นเอง